องค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อบ.ก.) มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Kasetsart University Students Administrative Board (KUSAB) เป็นหน่วยงานนิสิตซึ่งจัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของธรรมนูญนิสิตฯ มีหน้าที่บริหารงานเกี่ยวกับกิจกรรมนิสิตและเป็นตัวแทนนิสิตทั้งปวงของวิทยาเขต สามารถดำเนินการหรือเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกับหน่วยงานนิสิต-นักศึกษา สถาบันการศึกษา หรือองค์กรอื่นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยก็ได้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของนิสิตเป็นที่ตั้ง ซึ่งองค์การบริหารฯ จะตั้งอยู่ใน 4 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตศรีราชา วิทยาเขตกำแพงแสน และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
องค์การบริหารฯ มีคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารฯ ทำหน้าที่บริหารงานให้เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญนิสิตฯ ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากนิสิตทั้งปวงของแต่ละวิทยาเขต โดยเลือกตั้งแต่ละครั้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเฉพาะ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์และยุติธรรมตามระเบียบประกอบธรรมนูญนิสิตว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนนิสิตและคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารของแต่ละวิทยาเขต ทั้งนี้ ภายในคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารฯ จะต้องประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารไม่น้อยกว่า 9 คนแต่ไม่เกิน 50 คนและมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 1 ปี คือระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป (ตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญนิสิต พ.ศ. 2560)
ในปี 2489 มีนิสิตเกษตรกลุ่มหนึ่งโดยคำแนะนำของพระช่วงเกษตรศิลปาการประชุมที่เรือนเขียวเพื่อวางแผนก่อตั้งองค์การนิสิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเป็นองค์กรกลางของนิสิตเกษตรมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นผู้นำนิสิตในการรักษาผลประโยชน์ของนิสิตและส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในระยะแรกองค์การนิสิตนั้นได้ขึ้นตรงต่อรองอธิการบดีฝ่ายนิสิต ของมหาวิทยาลัย โดยโครงสร้างขององค์การนิสิตในยุกแรกจะประกอบด้วย
1. คณะกรรมการบริหารองค์การนิสิต มีหน้าที่บริหารกิจกรรมนิสิตและรักษาผลประโยชน์ของนิสิตและประเทศชาติเป็นสำคัญ
2. แผนกองค์การนิสิต มีหน้าที่เป็นผู้รับนโยบายไปปฏิบัติเช่น แผนกแชร์บอล แผนกรื่นเริง แผนกพิธีกร เป็นต้น
ในปี 2495 ได้มีการตั้งสภานิสิต ขึ้นมาโดยมีนิสิตทั้งปวงเป็นสมาชิก โดยมีนายประจวบ บุพรัตน์เป็นประธานสภาคนแรก
ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 มีการประชุมคณบดีครั้งที่ 5/2503 เรื่องของการรับน้องเมื่อคณบดีทั้งหลายได้ประชุมเสร็จสิ้นแล้วก็มีข่าวแพร่สะพัดในหมู่นิสิตว่าจะมีการยกเลิกการเล่นแบบปล้นหอพักที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่นิสิตรุ่นแรกที่มาจากแม่โจ้รวมทั้งสภานิสิตอาวุโสด้วย กิจกรรมอื่นๆเช่นพิธีการรับน้องใหม่ จนถึงงานรื่นเริงต่างๆก็ยังคงให้มีอยู่แต่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกิจกรรมนอกหลักสูตรก่อนซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย และในวันที่ 1 มิถุนายน 2503ก็มีคำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ 27/2503 เรื่องให้ยกเลิกกิจกรรมนอกหลักสูตรบางประการ ออกมาซึ่งก็เป็นไปตามความคาดหมายของนิสิตส่วนใหญ่อยู่แล้ว
ในระยะแรกที่คำสั่งนี้ออกมาระหว่างที่มีความสับสนและการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่นิสิตกันอย่างเผ็ดร้อนนั้น ทางองค์การนิสิตก็ได้ติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยขอทราบข้อเท็จจริงและขอผ่อนผันแก้ไขสถานการณ์โดยมหาวิทยาลัยได้ชี้แจงว่าทางมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะกรรมการกิจกรรมนอกหลักสูตร(กนส.)เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่จะมีขึ้นเกี่ยวกับกิจกรรมนอกหลักสูตรและเป็นสื่อกลางระหว่างนิสิตกับมหาวิทยาลัยและแนะนำรวมทั้งควบคุมและอำนวยความสะดวกทำกิจกรรมนอกหลักสูตรให้แก่นิสิตให้เป็นไปในทางที่ดีงามและเหมาะสม
ปฏิกิริยาของนิสิตส่วนใหญ่ในการยกเลิกประเพณีการปล้นหอรวมทั้งสภานิสิตอาวุโสทำให้คุณสุรัติ คูณผลนายกองค์การนิสิตปี2503ต้องยื่นใบลาออกไปเพราะไม่สามารถจัดตั้งคณะกรรมการบริหารองค์การนิสิตได้เนื่องจากนิสิตต้องการประท้วงมหาวิทยาลัยโดยสันติวิธี ทำให้กิจกรรมนิสิตขององค์การนิสิตหยุดชะงักไปช่วงเวลาหนึ่งแต่ก็ได้คลี่คลายไปได้ในที่สุด
สภานิสิตอาวุโสซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อประเพณีปล้นหอก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนไป โดยมหาวิทยาลัยได้เห็นความสำคัญของสภานิสิตอาวุโส จึงเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการปกครองนิสิต องค์การนิสิต โดยมีอธิบดีตำรวจนิสิตเป็นประธานโดยกรรมการคณะนี้ก็ต้องมาจากการเลือกตั้งของนิสิตชั้นปีที่4และปีที่5เพื่อช่วยจัดการงานของฝ่ายปกครองให้ดียิ่งขึ้น
2. คณะกรรมการบบริหารองค์การนิสิต มีหน้าที่บริหารงานองค์การนิสิตตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิสิต มีประธานบริหารเป็นหัวหน้า
3. คณะกรรมการปกครองนิสิต มีหน้าที่ควบคุมและดูแลสงบความเรียบร้อยของนิสิต มีอธิบดีตำรวจนิสิตเป็นหัวหน้า
4. แผนกองค์การนิสิต มีหน้าที่เป็นผู้รับนโยบายไปปฏิบัติเช่น แผนกแชร์บอล แผนกรื่นเริง แผนกพิธีกร เป็นต้น
ในปีพ.ศ. 2498 มีนิสิตกลุ่มหนึ่งในองค์การนิสิตริเริ่มพูดคุยกันที่เรือนเขียวว่าองค์การนิสิตควรจะมีหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งข่าวสารและแถลงผลงานขององค์การนิสิตในรอบปี โดยชื่อของหนังสือพระพิรุณมาจากการเสนอของนายผสมเพชรจำรัส และมีสารณียกร องค์การนิสิตและบรรณาธิการคนแรกคือนายประจวบ บุพรัตน์โดยมีนาย ซึ่งหนังสือพระพิรุณเล่มแรกได้ตีพิมพ์ขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2498 มีขนาด8.5 * 13 นิ้ว โดยในปีและได้ออกหนังสือพระพิรุณมา 4 ฉบับคือ พระพิรุณฉบับรับน้อง พระพิรุณฉบับวันสถาปนา พระพิรุณฉบับตุลาคม2498 และฉบับมีนาคม2499 ต่อมาสารณียกรนี้ได้พัฒนามาเป็นแผนกหนึ่งของงค์การนิสิต
ในปี 2515 การทำงานขององค์การนิสิต ที่ใช้รูปแบบเดิมคือ องค์การนิสิต ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการปกครองและถูกควบคุมตรวจสอบโดยสภานิสิตที่มีนิสิตเป็นสมาชิกทุกคนเริ่มเกิดปัญหาเนื่องจากการไม่คล่องตัวขององค์การนิสิตเองและสภานิสิตก็ไม่สามารถเรียกประชุมนิสิตได้เหมือนในอดีตเพราะนิสิตมีจำนวนมากขึ้นอย่างมาก จึงมีการร่างธรรมนูญนิสิตฉบับใหม่ขึ้นในปีนั้นโดยปฏิรูปโครงสร้างองค์การนิสิตโดยแบ่งเป็นองค์การนิสิตประกอบด้วย องค์การบริหารซึ่งเดิมคือคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการประจำองค์การบริหารประกอบด้วยประธานแผนกต่างๆ และคณะกรรมการปกครอง และปฏิรูปสภานิสิตเป็นสภาผู้แทนนิสิตเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในฐานะองค์การนิสิตอย่างแท้จริง ซึ่งโครงสร้างใหม่นี้ได้ถูกเขียนลงในธรรมนูญนิสิตปี 2516 และต่อมาได้แก้ไขโครงสร้างองค์การนิสิตโดยเพิ่มคณะกรรมการตุลาการเพื่อพิพากษาอรรถคดีที่พิพากระหว่างองค์กรขึ้น และโครงสร้างนี้ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมการยกเลิกธรรมนูญนิสิตปี2516 หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ต่อมาเมื่อพ้นเหตุการณ์ต่างๆและจึงได้สถาปนาองค์การนิสิตขึ้นใหม่อีกครั้งโดยแบ่งโดยสร้างองค์การนิสิตเป็น
1. องค์การบริหาร(Kasetsart university administration) ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหาร(Kasetsart university student administrative committee) และคณะกรรมการประจำองค์การบริหาร (Kasetsart University Regular administrative committee)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความไม่เหมือนมหาวิทยาลัยแห่งอื่นเพราะนิสิตและอาจารย์มีความสนิทกันมากโดยในทุกๆปีจะมีการแสดงชุดเกษตรานครเป็นประเพณีเก่าแก่ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เป็นการแสดงชุดสุดท้ายของนิสิต ในรูปแบบลิเกหรือละครเสียดสีการบริหารงานในมหาวิทยาลัย การแสดงจะมีผู้แสดงเป็นเจ้าเมือง (แทนอธิการบดี) เสนากระทรวงต่างๆ (แทนรองอธิการ) ว่ากันว่าอาจารย์ที่มานั่งดูชมก็หัวเราะไปเป็นที่สนุกสนาน เพราะถือว่านานปีมีหน ลูกหลานแซวถือว่าเป็นการอวยพร เมื่อจบการแสดงก็จะพากันถือคบเพลิงเป็นทิวแถว ไปอวยพรปีใหม่ตามบ้านอาจารย์ซึ่งมักอยู่ในมหาวิทยาลัย ท่านอาจารย์จะนำขนมมาต้อนรับ จากนั้นก็แยกย้ายกันกลับหอนอน ซึ่งถูกยกเลิกไปในปี 2519
ในปี 2515 องค์การบริหาร(อบ.ก.)เป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น มีการก่อตั้งชมรมต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ภายหลังถูกยุบไปเพราะพลังนิสิตนักศึกษาไม่พอ การเลือกประเด็นเรื่องผ้าขึ้นมาต่อสู้ โดยรณรงค์ให้คนไทยหันมาใช้ผ้าดิบของไทย ทำให้ประชาชนเริ่มมีความมั่นใจใจตัวนิสิตนักศึกษามากขึ้น ต่อมาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้นำมาเป็นนโยบายของศูนย์ด้วย นับเป็นครั้งแรกที่องค์การบริหารเข้ามามีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์ชาติเป็นครั้งแรก
ในวันที่9 ตุลาคมขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประกาศงดสอบ ด้านองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกแถลงการณ์โจมตีรัฐบาลเผด็จการ มีการชุมนุมย่อยๆของนิสิตเกษตรในบริเวณหน้าอาคารเทพศาสตร์สถิตย์ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์การนิสิตในขณะนั้นและองค์การนิสิตได้ทำใบปลิวไปแจกและติดทั่วบริเวณมหาวิทยาลัยเพื่อเผยแพร่การกระทำที่รัฐบาลจับผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่องค์การนิสิตยังไม่ประกาศงดสอบเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพราะอธิการและรองอธิการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขอร้องไม่ให้งดสอบ
ศาสตราจารย์ ดร. สุธรรม อารีกุล เล่าว่า ขณะนั้นเพิ่งจะรักษาการรองอธิการบดี ในคืนวันที่ 11 ตุลาคม 2516 นิสิตมีการชุมนุมที่หน้าอาคารเทพศาสตร์สถิตย์ จะเดินขบวนไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจะไม่เข้าสอบไล่ จึงต้องเข้าไปเจรจาต่อรอง ยับยั้ง ไม่ให้ไปธรรมศาสตร์ ต้องนอนกับนิสิต
วันที่11 ตุลาคม นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำโดยองค์การบริหารและสภาผู้แทนนิสิต ประกาศงดสอบแล้วเคลื่อนขบวนมาธรรมศาสตร์ด้วยรถบัสและรถสองแถวประมาณ 50 คัน ออกจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยไม่ฟังคำสั่งห้ามของอธิการและรองอธิการบดีในขณะนั้น ขณะเดียวกันองค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ออกแถลงการณ์สนับสนุนการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาและคัดค้านการกระทำของรัฐบาล
ขณะ สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ออกแถลงการณ์ให้เลิกใช้มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองกรณีการจับกุมผู้ต้องหา 13 คน และให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน
และแล้วชัยชนะก็มาสู่นิสิตนักศึกษาและประชาชน ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มมีการตั้งกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ขึ้นอย่างมากจากเดิมเพียงสองกลุ่มคือ กลุ่มนิสิตอาสาสมัคร และกลุ่มมหาวิทยาลัยชาวบ้าน
ในช่วงปี 2519 ภายในรั้งนนทรีแห่งนี้ได้เกิดความแตกแยกขึ้นระหว่างองค์การบริหารและสภาผู้แทนนิสิต กับ กลุ่มตึกพักหอพัก จากเรื่องการยกเลิกระบบ SOTUS ภายในตึกพักหอพักเพราะทางฝั่งองค์การบริหารและสภาผู้แทนนิสิตเห็นว่าเป็นการจัดกิจกรรมที่ละเมิดต่อสิทธิของนิสิตที่ธรรมนูญนิสิตปี2516รับรองไว้ แต่ทางฝั่งตึกพักหอพักไม่ยินยอมยกเลิก และได้ลามจนถึงขั้นกลุ่มตึกพักหอพักในขณะนั้นได้รวบรวมรายชื่อจำนวน 500 รายชื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยให้เปิดอภิปายไม่ไว้วางไว้องค์การบริหาร ต่อมาวันที่ 7 สิงหาคม 2519อาจารย์ระพี สาคริกได้อนุมัติให้ฝ่ายกิจการนิสิตจัดการแสดงประชามติไม่ไว้วางใจองค์การนิสิตทำงานแต่องค์การนิสิตได้รณรงค์ให้นิสิตระงับการออกเสียงเพราะอธิการบดีไม่มีอำนาจทำได้และในธรรมนูญนิสิตได้กำหนดให้สภานิสิตเป็นผู้จัดประชามติได้แต่เพียงผู้เดียว และสภาผู้แทนนิสิตได้กำหนดวันลงประชามติไว้แล้วคือวันที่ 18 สิงหาคม ทำให้องค์การบริหารและสภาผู้แทนนิสิตไม่พอใจมหาวิทยาลัยอย่างมากจนทำให้เย็นวันที่ 7 สิงหาคม องค์การนิสิตอันประกอบด้วย องค์การบริหารและสภาผู้แทนนิสิต นำโดยนายอนิรุธ โกศล ประธานสภาและนายพิชัย สุนทรวรางคนา นายกองค์การนิสิตประกาศลาออกทั้งคณะ ทำให้กิจรรมนิสิตในช่วงนั้นหยุดชะงัดไปจนถึงการยุบองค์การนิสิตในวันที่ 6 ตุลาคม 2519
ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เงียบเหงามาก นิสิตเกษตรต่างอยู่ในความหวาดกลัว ทหารได้ปิดอาคารเทพศาสตร์สถิตย์และ เผาหนังสือและตำราบางส่วนเพราะเชื่อว่ามีแนวคิดคอมมิวนิสต์ และทางมหาวิทยาลัยได้ออกประกาศยกเลิก องค์การนิสิต ชมรม สโมสร กลุ่ม ธรรมนูญนิสิตทั้งหมดและควบคุมนิสิตเกษตรอย่างใกล้ชิด
ในช่วงที่นิสิตเกษตรหนีเข้าป่านั้น มีเพลงของมหาวิทยาลัยเพลงหนึ่งชื่อบทเพลงเสีแห่งนนทรี ที่นิสิตในช่วงนั้นคงจะรู้จักกันดีในฐานะเพลงป่าที่แต่งโดยนิสิตนักศึกษาที่เข้าป่าในพื้นที่ภูพาน โดยเพลงนี้แต่งโดย สหายดล(หาชื่อจริง)ซึ่งเป็นคนแต่งเพลงป่าให้กับทุกๆมหาวิทยาลัยและอัดเทปแล้วส่งกลับมาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมาเป็นเพลงในค่ายอาสาในปัจจุบันโดยสืบทอดในชมรมฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์จากรุ่นสู่รุ่น
หยาดฝนชโลมลงทั่วแผ่นดิน หลั่งรินเลี้ยงพืชพันธุ์ให้งอกงาม งามเขียวขจี
พร่างพรายนนทรีเสรีที่เราใฝ่ฝัน ร่วมกันสร้างสรรค์ฟ้าไทย อำไพเรืองรอง
เมฆฝนครึ้มมัวมนทั่วแผ่นฟ้า ด้วยศรัทธาพร้อมชูเคียวขึ้นเกี่ยวดาว ทำลายล้างอธรรม
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผ่านพ้นไปและนิสิตเกษตรที่เข้าป่าเริ่มทะยอยออกมาแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้ร่างระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยสโมสรนิสิตเกษตรศาสตร์ แต่สโมสรได้นำเงินของนิสิตไปใช้อย่างฟุ่มเฟือยรวมทั้งมีการทุจริตจากการก่อสร้างลานดาวที่หลังหอประชุมใหญ่ของสโมสรนิสิตเกษตรศาสตร์ ทำให้นิสิตเรียกร้องให้ฟื้นฟูองค์การนิสิตขึ้นมาอีกครั้ง องค์การนิสิตจึงถือกำหนดใหม่ใต้ธรรมนูญนิสิตปี2523 โดยองค์การนิสิตประกอบด้วย
1. องค์การบริหาร องค์การนิสิต ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการประจำองค์การบริหาร
และในการฟื้นฟูองค์การนิสิตในครั้งนี้มีการแยกการดำเนินกิจกรรมของวิทยาเขตกำแพงแสนออกจากบางเขนภายใต้องค์การนิสิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลังจากองค์การนิสิตได้ถูกฟื้นฟูขึ้นแล้ว เลือกสีเขียวอันเข้มข้นทำให้องค์การบริหารได้เผยแพร่ประชาธิปไตยในจังหวัดลำปางของชมรมบำเพ็ญร่วมกับอบ.ก. ในเขตกรุงเทพมหานคร ก็มีการขี่จักรยานออกนอกเขตมหาวิทยาลัย เชิญชวนให้คนกรุงเทพฯ ออกไปใช้สิทธิของตน ตามที่คาดหมายไว้ถึง51เปอร์เซ็นต์
วันที่27 พฤศจิกายน 2530 นิสิตเกษตรจากประสานของชมรมต่างๆ 11ชมรม อบ.ก. กว่าพันคนขี่จักรยานกว่า800คันโดยขบวนเคลื่อนออกไปถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนน้ำโจน ประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงความจำเป็นและเจตนารมณ์ที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศชาติ “บัดนี้นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับผู้ที่ทำลายทรัพยากรของประเทศอย่างถึงที่สุด” นอกจากเขื่อนน้ำโจน ยังมีการต่อสู้เพื่อยกการทำนาเกลือที่ลุ่มน้ำเสียว จังหวัดมหาสารคาม คัดค้านเขื่อแก่นกรุง จัหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้รัฐบาลเลื่อนการตัดสินใจไปก่อน
การต่อสู้เพื่อรักษาทรัพยากรธรมชาติยังคงมีต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้การทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศหมดสิ้นไป
ช่วง คณะรสช.ยึดอำนาจ นิสิตเกษตรถูกจุดประกายไฟอีกครั้งหลังจากห่างหายการเคลื่อนไหวทางการเมืองนับ10ปี นิสิตเกษตรที่ร่วมคัดค้านส่วนใหญ่เป็นนิสิตที่ทำกิจกรรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ โดยพร้อมใจขี่จักรยานถึงสองรอบ โดยครั้งแรกได้ขี่ระยะสั้นจากมหาวิทยาลัยไปยังเซ็นทรัลลาดพร้าวแล้วจัดตั้งเวทีปราศรัยให้ประชาชนรับทราบถึงพฤติกรรมของรัฐบาล ครั้งที่สองได้ขี่จักรยานจากมหาวิทยาลัย มายังลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในยามบ่ายของวันที่6 ธันวาคม2534 ก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการจะเข้าสู่การพิจารณาวาระที่3 ในที่ประชุมรัฐสภาเพียงวันเดียว และมีการหยุดพักที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อแถลงการณ์ต่อหน้าสาธารณชน และที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นิสิตทั้งหมดยืนไว้อาลัย ให้กับรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่ถูกปล้นโดยคณะรสช.
จากกระแสการเมืองช่วงปีพ.ศ. 2535-2536 ในมหาวิทยาลัย กลุ่มนิสิตนักศึกษาต่างรวมกันจัดนิทรรศการ อภิปราย เวทีการเมืองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันอย่างไม่เคยมีมาก่อน หลังการล้มอำนาจคณะปฏิวัติที่แลกมาด้วยชีวิตของนักศึกษาและประชาชนหลายพันคน การเลือกตั้งถูกจัดตั้งขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้หัวข้อ”ทิศทางทางการเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร?”ที่หลายฝ่ายต่างสนใจพฤติกรรมของนักการเมือง เพราะนักการเมืองไม่เป็นที่ไว้น่าวางใจของประชาชน
องค์การบริหาร องค์การนิสิต บางเขนจะประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารที่มาจากการเลือกตั้งและคณะกรรมการประจำองค์การบริการที่ประกอบด้วยนายกสโมสรนิสิตและผู้แทนชมรมทุกฝ่ายรวมกัน คณะกรรมการบริหารนั้นจะประกอบไปด้วยตำแหน่งต่างๆดังต่างไปนี้
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/องค์การบริหาร_องค์การนิสิต_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์